จดทะเบียนประกันสังคม

จดทะเบียนประกันสังคม

“การขึ้นทะเบียนประกันสังคม” ต้องขึ้นเมื่อไหร่? หากไม่ทำผิดไหม?



 
ประกันสังคม คืออะไร?

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต ในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

 
ผู้ประกอบการ ต้องไป ขึ้นทะเบียนประกันสังคม หรือไม่? และ ขึ้นเมื่อใด ?
 
นายจ้าง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล) ที่ มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และ เมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน 


 



 
เมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานโดยใช้หน้งสือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (สปส.6-09) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
 
หากไม่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จะมีความผิดหรือไม่ ?

ตามกฎหมายประกันสังคม นายจ้าง จะถือว่า "มีความผิด" ความผิดระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนนายจ้าง

 
-->กรณีนิติบุคคล
 
1. แผนที่ตั้งและภาพถ่ายของสถานประกอบการ
2. หลักฐานการแสดงตัวของนายจ้าง
        - กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม/หุ้นส่วนผู้จัดการที่มีสัญชาติไทย ใช้บัตรประจำตัวประชาชน
        - กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม/หุ้นส่วนผู้จัดการที่เป็นคนต่างด้าว ใช้ PASSPORT หรือ WORK PERMIT หรือ VISA หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคล
3. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
 
-->กรณีเจ้าของคนเดียว/กิจการร่วมค้า
 
1. แผนที่ตั้งและภาพถ่ายของสถานประกอบการ
2. หลักฐานแสดงตัวของนายจ้าง
        2.1 กรณีเจ้าของคนเดียว ใช้บัตรประจำตัวประชาชน
        2.2 กรณีกิจการร่วมค้า
                - กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม/หุ้นส่วนผู้จัดการที่มีสัญชาติไทย ใช้บัตรประจำตัวประชาชน
                - กรรมการผู้อำนาจลงนาม/หุ้นส่วนผู้จัดการที่เป็นคนต่างด้าว ใช้ PASSPORT หรือ WORK PERMIT หรือ VISA หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองของผู้อำนาจผูกพันนิติบุคคล
3. หนังสือสัญญาเช่า หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
4. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด) พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ
 
นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ/นิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้าน/มูลนิธิ/สมาคม/สหกรณ์ เอกสารที่ต้องใช้ในการตรวจสอบเพิ่มเติม ดังนี้
- ข้อบังคับ และรายงานการประชุมแต่งตั้งผู้จัดการ หรือหนังสือจัดตั้งฯ หรือหนังสือรับรองการประชุม

-->สำหรับลูกจ้าง

 
1. กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
2. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้
3. ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาติทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
4. ลูกจ้าง ที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน 
 

การขอขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน


ให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนต่อสํานักงานประกันสังคมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้าง เข้าทำงานมิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยนายจ้างมีหน้าที่รวบรวมแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03) โดยใช้แบบ สปส. 1-02 เป็นหนังสือนำส่งในการยื่นต่อสํานักงานประกันสังคม


 



 

หลังขึ้นทะเบียนประกันสังคมแล้ว ต้องทำอะไรบ้าง ?

หลังจากขึ้นประกันสังคมแล้ว นายจ้าง ต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคมทุกเดือน ให้กับ ประกันสังคมในพื้นที่ที่นายจ้างขึ้นทะเบียน โดย แบ่งเงินสมทบ เป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ส่วนเงินสมทบที่ หักจากเงินเดือนของลูกจ้าง
ส่วนที่ 2 ส่วนเงินสมทบที่ นายจ้างนำเงินมาสมทบ เท่ากับส่วนที่ 1 
โดยนายจ้างจะจัดทำแบบ สปส.1-10 นำส่งแบบ พร้อมกับ เงินสมทบ (รวมส่วนที่ 1 +2) ที่ประกันสังคมในพื้นที่ ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
 
นายจ้าง ไม่ส่งเงินสมทบ ให้แก่ลูกจ้าง จะมีความผิดหรือไม่ ?

ถ้านายจ้างส่งเงินสมทบไม่ทัน หรือ ส่งเงินไม่ครบ จะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือ จำนวนเงินที่ขาดอยู่ โดยจะต้องนำส่งด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพฯ หรือ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเท่านั้นแต่หากนายจ้างกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส.1-10) ไม่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้องหากยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง จะ มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 
นายจ้างสามารถยื่นขอเป็นผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) มาตรา33 ได้หรือไม่?

ในสถานะของนายจ้าง จะไม่สามารถยื่นเรื่องเข้าประกันสังคมภายใต้กิจการตัวเองได้ (มาตรา 33) ยกตัวอย่าง เช่น กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงนามแทนห้างหุ้นส่วน จะไม่สามารถเป็นผู้ประกันตนภายใต้ลูกจ้างของกิจการได้ ยกเว้น กรณี หุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล กรณีได้รับเงินเดือน จะยังคงถือเป็นลูกจ้างขึ้นประกันสังคมภายใต้กิจการได้

 
สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link Youtube นี้ได้เลยค่ะ
 

Shared :