ประกันภัยอื่นๆ สำหรับองค์กร
นอกจากประกันภัยทรัพย์สิน ประกันกลุ่มสำหรับพนักงาน ประกันผู้บริหาร ประกันบุคคลที่ 3 แล้ว องค์กรยังสามารถจัดทำประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยพิเศษด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น
การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
คือ การประกันความเสียหายแก่เรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล และยังขยายของเขตความคุ้มครองไปถึงการขนส่งสินค้าทางอากาศและทางบก ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วย ประเภทของการประกันภัยทางทะเล
1. การประกันภัยตัวเรือ (Hull Insurance) : คุ้มครองความเสียหายต่อตัวเรือจากอุบัติเหตุต่างๆ เช่น ภัยจากลมพายุ, เรือเกยตื้น, เรือชนกัน, เรือชนหินโสโครก เป็นต้น และยังหมายความรวมไปถึงการประกันค่าระวางด้วย
2. การประกันภัยสินค้า (Cargo Insurance) : คุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยซึ่งอยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล ภัยที่ได้รับการคุ้มครองขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันภัยเลือกซื้อความคุ้มครองไว้ บุคคลผู้มีสิทธิหรือมีส่วนได้ส่วนเสียที่อาจจะเอาประกันภัยทางทะเลได้ ผู้ที่จะเอาประกันภัยได้ต้องมีส่วนได้ส่วนเสียในเหตุที่เอาประกันภัย เช่น เจ้าของเรือ, เจ้าของสินค้าหรือผู้รับขนส่ง เป็นต้น ใครเป็นเจ้าขอ กรรมสิทธิ์ในสินค้าขณะเกิดความเสียหาย ผู้นั้นย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้บริษัทชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับตนเองได้ ภัยที่คุ้มครองและเงื่อนไขความคุ้มครองในกรมธรรม์
1. ภัยทางทะเล (Peril of the sea) เช่น ภัยจากพายุ, มรสุม, เรือจม, เรือชนกัน และเรือเกยตื้น
2. อัคคีภัย (Fire) ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากไฟไหม้ แต่ต้องไม่เกิดจากความประพฤติผิดของผู้เอาประกันภัยเอง หรือเกิดจากการลุกไหม้ขึ้นมาเองของสินค้าอันเนื่องมาจากธรรมชาติ
3. การทิ้งทะเล(Jettisons) หมายถึง การเอาของทิ้งทะเลเพื่อให้เรือเบาลง
4. โจรกรรม (Thieves) หมายถึง การโจรกรรมอย่างรุนแรงโดยการใช้กำลังเพื่อช่วงชิงทรัพย์
5. การกระทำโดยทุจริตของคนเรือ(Barratry) หมายถึง การกระทำโดยมิชอบของคนเรือโดยเจตนากลั่นแกล้งทุจริต ตั้งแต่นายเรือจนกระทั่งถึงลูกเรือในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินและการกระทำนั้นต้องปราศจากการรู้เห็นเป็นใจ ของเจ้าของทรัพย์
ประกันภัยโจรกรรม
ผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครอง 2 ส่วน คือ
1. ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ซึ่งสามารถเลือกรายละเอียดความคุ้มครองได้ เช่น
- คุ้มครองการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ
- คุ้มครองการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยงัดแงะ การชิงทรัพย์ หรือการปล้นทรัพย์
- คุ้มครองการลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ โดยรวมถึงการลักทรัพย์ (ลักขโมย)
ที่ไม่ได้ปรากฎร่องรอยการงัดแงะ
2. ความเสียหายต่อตัวอาคารซึ่งเก็บทรัพย์สินที่เอาประกันภัย บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายต่อส่วนหนึ่งส่วนใดของตัวอาคาร อ้นเกิดจากการลักทรัพย์นั้น
ประกันภัยไซเบอร์
คือประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อมูล หรือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย หรือการจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นมาจากการโจมตีทางไซเบอร์ หรือการโจรกรรมข้อมูล
ประกันภัยการทุจริตพนักงาน
ประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการทุจริตของพนักงานต่อองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการ ทุจริตเงิน ยักยอกเงิน ขโมยเงิน การทุจริตสินค้า สต๊อคสินค้า สต๊อควัตถุดิบ และการทุจริตอื่นๆที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยเจตนาพนักงานในองค์กรหรือร้านค้าต่างๆ
ประกันภัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ตัวอย่างของประกันภัยอื่นๆ ที่องค์กรของท่าน อาจจะจำเป็นต้องทำเพื่อป้องกันความเสี่ยงไว้ ซึ่งไม่ได้มีรูปแบบตายตัว ทั้งหมดขึ้นกับการประเมิน และการต่อรองข้อเสนอของบริษัทประกัน
ทีมงานที่ปรึกษาของ FTA Consulting พร้อมให้บริการให้คำแนะนำในการเลือกแผนประกันที่เหมาะสม ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันในการดำเนินการเรื่องการประเมินและจัดทำข้อเสนอ เพื่อให้ได้ความคุ้มครองที่เหมาะสม ทำการเปรียบเทียบ หาข้อเสนอที่ดีที่สุดจากบริษัทประกัน รวมถึงการดูแลบริการ อำนวยความสะดวกเรื่องการเคลม กรณีที่เกิดเหตุขึ้น