จัดทำพินัยกรรม และ วางแผนมรดก

จัดทำพินัยกรรม และ วางแผนมรดก

การวางแผนส่งต่อมรดก (Estate Planning)
 

ไม่มีใครรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อไร ไม่มีใครรู้ว่าหลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง สมาชิกในครอบครัวของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าคู่ชีวิตของเราแต่งงานใหม่และมีลูกเพิ่มอีกสักคนลูกเราจะเป็นอย่างไร เขาจะได้รับมรดกอย่างที่เราอยากให้หรือไม่ จะมีคนดูแลเรื่องการศึกษาให้หรือไม่ ฯลฯ หรือญาติพี่น้องจะต้องทะเลาะเบาะแว้งเพื่อแย่งชิงมรดกจนต้องฟ้องร้องกันเองหรือไม่ อะไรๆก็เกิดขึ้นได้อย่างที่เราเห็นเป็นข่าวหน้าหนึ่งอยู่บ่อยๆ การเตรียมการอย่างเหมาะสมไว้ล่วงหน้าย่อมจะดีกว่าสำหรับทุกคน ทายาทเองก็จะได้วางแผนชีวิตส่วนตัวของเขาได้ด้วย
               
การวางแผนการเงินส่วนบุคคลอย่างครบวงจรจะต้องครอบคลุมตั้งแต่การสร้างความมั่งคั่ง (Wealth creation) การสะสมความมั่งคั่ง (Wealth accumulation) การรักษาความมั่งคั่ง (Wealth protection) และการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth distribution) การวางแผนมรดกถือเป็นการกระจายความมั่งคั่งซึ่งช่วยให้ความมั่งคั่งที่เราได้สร้างสมและรักษามาตลอดชีวิตได้ถูกจัดสรรไป “ตามที่เราต้องการ” ใน “เวลาอันรวดเร็ว” และมีค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดด้วย 
 

 

4. ข้อผิดพลาดในการวางแผนมรดก


1. ไม่วางแผนมรดก เพราะคิดว่าเป็นเรื่องของคนรวยๆ คิดว่าตัวเองมีทรัพย์สินไม่มากนัก คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว คิดว่าเป็นเรื่องเสียเวลา หรือคิดว่าเป็นการแช่งตัวเอง ความคิดเหล่านี้ถือเป็นทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการวางแผนการเงิน เพราะไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะเสียชีวิตเมื่อใด การทำพินัยกรรมอย่างง่ายสามารถกระจายความมั่งคั่งไปให้ทายาทสมบูรณ์ได้

2. ทำพินัยกรรมไว้แล้วแต่ไม่บอกใคร เก็บซ่อนไว้อย่างดีจนไม่มีใครพบการหาพินัยกรรมไม่พบก็เท่ากับการไม่มีพินัยกรรม มรดกก็จะไม่ได้ถูกจัดสรรไปตามที่เราต้องการ 

3. ทำพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ อาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะไม่ได้ปรึกษาผู้รู้หรือไม่สมบูรณ์ในแง่ทรัพย์สิน ระบุทรัพย์มรดกที่มีไม่ครบถ้วน

4. ไม่ปรับปรุงพินัยกรรมเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป หลายคนทำพินัยกรรมเสร็จแล้วก็เก็บรักษาไว้อย่างดีจนลืมหยิบมา Update เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น มีสินทรัพย์เพิ่ม มีลูกเพิ่ม หรือหย่าร้าง ฯลฯ



 
 
 


รอบรู้เรื่องพินัยกรรม

ส่วนประกอบสำคัญในการวางแผนมรดกก็คือ การทำพินัยกรรม เพราะ “พินัยกรรม” ถือเป็นแนวปฏิบัติที่จะถูกนำไปใช้ในการจัดการทรัพย์สินของเราให้แก่ทายาทหรือผู้รับมรดกเมื่อเราเสียชีวิตไปแล้ว หากเราทำพินัยกรรมโดยระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ครบถ้วน การทำพินัยกรรมเพียงฉบับเดียวก็ทำให้การจัดสรรทรัพย์สินของเราเป็นไปอย่างสมบูรณ์ได้ ซึ่งการทำพินัยกรรมสามารถทำเองได้โดยเขียนด้วยรายมือของตนเอง เรียกว่า “พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ” 
ข้อมูลที่ต้องระบุในพินัยกรรม ได้แก่ ข้อมูลส่วนตัว ชื่อ นามสกุล ทรัพย์สินเงินทอง กรมธรรม์ประกันภัย ประกันชีวิต รายชื่อผู้รับมรดก ผู้จัดการมรดก จำนวนทรัพย์สินที่ต้องการจัดสรรให้ผู้รับแต่ละคน รายมือชื่อและวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม ทั้งนี้ ตามกฎหมายสามารถระบุให้ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้รับมรดกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท 

ตามกฎหมายพินัยกรรมทั่วไปสามารถทำได้ 4 รูปแบบ ดังนี้


1. พินัยกรรมแบบธรรมดาที่ทำเป็นหนังสือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องรายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมื้อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานต้องไม่เป็นผู้รับมรดก

2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือของตัวเองและต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เท่านั้น ไม่สามารถใช้พิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับได้ ซึ่งพินัยกรรมรูปแบบนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีพยาน

3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมสามารถไปขอทำได้ที่ที่ว่าการเขตหรืออำเภอ ซึ่งต้องมีพยานอย่าวน้อยสองคนโดยผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอต้องจดรายละเอียด และอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟังก่อน แล้วจึงลงลายมือชื่อกำกับไว้ทั้งผู้ทำพินัยกรรม พยาน และผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ 

4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เมื่อทำพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมต้องปิดผนึกและลงลายมือชื่อกำกับตรงรอยที่ปิดผนึก แล้วทำพินัยกรรมไปแสดง ต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จากนั้นผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอและพยานอย่างน้อยสองคนต้องลงลายมือชื่อกำกับบนซองพินัยกรรม 

 










 



                

 

Shared :