การวางแผนภาษี

การวางแผนภาษี



 

“ภาษี” ถือเป็นรายจ่ายส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา เพราะนอกจากภาษีเงินได้ประจำปีที่ต้องจ่ายแล้ว เรายังต้องจ่ายภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกครั้งที่จับจ่ายใช้สอย คนส่วนใหญ่จะนึกถึงภาษีเฉพาะเมื่อต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีประจำปีเท่ากัน ทั้งที่จริง เราจ่ายภาษีทุกวัน ภาษีของเราก็คือรายได้ของรัฐบาลจะนำไปใช้ในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาประเทศ


การวางแผนภาษีส่วนบุคคล (Personal tax planning)
จะช่วยให้เรามีแนวปฏิบัติในการเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและช่วยประหยัดภาษีให้เราด้วย นอกจากนี้การวางแผนภาษียังช่วยเพิ่มความรอบคอบและเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการเงินเราด้วย  เช่น การรวบรวมรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในต่ละปี จะช่วยลดการผิดพลาดที่อาจต้องทำให้เสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มจากการแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วนได้ หรือถ้าเราเลือกลงทุนในกองทุน RMF ก็จะช่วยประหยัดภาษีและช่วยให้เรามีหลักประกันในระยะยาวสำหรับวัยเกษียณได้ด้วย

การวางแผนภาษีส่วนบุคคลไม่ใช่เรื่องยุ่งยากหรือซับซ้อน ขอเพียงเราได้เริ่มลงมือทำเมื่อวางระบบเริ่มต้นได้แล้วปีต่อๆมาเพียงทบทวนบ้าง เพื่อไม่ให้เสียอาสดีๆในการประหยัดเงินสดเท่านั้นเรื่องที่ต้องรู้เพื่อการวางแผนภาษีเกิดประโยชน์สูงสุดมีดังนี้ 

1.
 
รู้และเข้าใจกฎ ข้อบังคับ แนวปฏิบัติทางภาษีที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการเสียภาษีไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง

2. รู้จัดการจัดเก็บข้อมูลภาษีของตัวเอง ทั้งการเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลรายได้ เอกสารการหักภาษี ณ ที่จ่าย เอกสารการลงทุน กรมธรรม์ประกันชีวิต ฯลฯ การทำสรุปข้อมูลเหล่านี้ทุกเดือนจะช่วให้เรารู้ล่วงหน้าว่าเราจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหรือจะประหยัดภาษีได้ประมาณเท่าไรซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนภาษี

3. รู้จักประโยชน์จากมาตรการภาษีที่รัฐมอบให้จะลดภาระภาษีลง เช่น การทำประกันชีวิต การลงทุนใน RMF หรือ LTF และการซื้อสลากออมสิน เป็นต้น
 
 
 หลักการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีดังนี้


 




ค่าลดหย่อนทั่วไป



 



เงินบริจาค
  

แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
> เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
> เงินบริจาคอื่น ๆ ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน และเงินบริจาคสนับสนุนการศึกษาแล้ว
 

อัตราภาษี

เป็นอัตราก้าวหน้า ดังนี้  


 




รู้ภาษี…มีประโยชน์

               
แม้ผู้ที่ได้เงินทุกคนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดแต่รัฐบาลมักจะใช้มาตรการทางภาษีในการกระตุ้นการบริโภคในระบบเศรษฐกิจและส่งเสริมการออมของประชาชนอยู่เสมอๆ ปัจจุบันมีมาตรการทางภาษีมากมายที่จะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้ เพียงเรารู้จักใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนของภาครัฐอย่างเต็มที่ เราก็จะมีเงินสดเพิ่มขึ้นทุกปี กฎหมายกำหนดเงินที่ได้รับยกเว้นภาษีไว้หลายกรณี ที่สำคัญคือ มาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากรและกฎกระทรวงฉบับที่ 126 รวมทั้งยังมีการยกเว้นตามพระราชกฤษฎีกาอีกหลายฉบับ ซึ่งรวมแล้วมีเงินได้มากกว่า 100 รายการที่ได้รับการยกเว้นภาษีและยังมีสิทธิลดหย่อนอีกหลายประการ
               
การไม่ละเลยสิทธิประโยชน์เหล่านี้ นอกจากจะช่วยประหยัดภาษีแล้วยังช่วยเราวางแผนการเงินและวางแผนชีวิตในระยะยาวได้สมบูรณ์ขึ้นด้วย เช่น การซื้อประกันชีวิตที่มีอายุสัญญาเกิน 10 ปีขึ้นไป การลงทุนในกองทุนรวม RMF LTF หรือการกู้เงินซื้อบ้านเพื่ออยู่อาศัยหรือบริจาคเงินซื้ออุปกรณ์การศึกษาให้แก่โรงเรียน เป็นต้น


 

Shared :