การจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) คืออะไร?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) คือ ภาษีที่ถูกเก็บจากการซื้อขายสินค้า - บริการภายในประเทศ รวมถึงการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศด้วย ในปัจจุบันเราทุกคนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ 7% (มาจากำภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% + ภาษีท้องถิ่น 0.7%)
เมื่อไรต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT) ก่อนอื่น ต้องดูว่าธุรกิจของคุณเข้าข่ายต่อไปนี้หรือไม่?
1. เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นหรือไม่
• ธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (คิดจากยอดขายหรือค่าบริการที่เรียกเก็บจากลูกค้า)
• ธุรกิจค้าขายพืชผลทางเกษตรภายในประเทศ เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น
• ธุรกิจการค้าขายสัตว์ทั้งมีชีวิต และไม่มีชีวิตภายในประเทศ เช่น โค กระบือ ไก่ หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น
• การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
• การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
** ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนหนึ่งของประเภทธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น และคุณสามารถตรวจสอบธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
2. เป็นธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี หรือไม่?
แนะนำให้คุณสำรวจรายได้ต่อปีของคุณเองก่อนว่า ธุรกิจของคุณนั้นมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือไม่ (เฉลี่ยเดือนละ 150, 000) รายได้ในที่นี้ คือ ยอดขายที่เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่กำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว และหากธุรกิจของคุณมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องดำเนินการจด VAT ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกิน 1.8 ล้านบาท (แต่ถ้ายอดขายตลอดทั้งปี 1.8 ล้านบาทพอดั จะยังไม่ถูกบังคับให้ต้องจด VAT แต่อย่างใด
หมายเหตุ: ในกรณีที่คุณทำงานประจำและมีรายได้จากการทำธุรกิจด้วย เกณฑ์รายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะดูจากยอดขายหรือค่าบริการเท่านั้น ไม่นำเงินเดือนจากงานประจำมารวมด้วย
3. ธุกิจของคุณ มี VAT เป็นต้นทุนหรือไม่?
หากคุณทำธุรกิจประเภท ซื้อมาขายไป (พ่อค้าคนกลาง) หรือธุรกิจที่สินค้าต้นทางมีการคิด VAT คุณควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่จะช่วยลดต้นทุนให้คุณได้อย่างมาก
4. ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ เข้าระบบ VAT หรือไม่?
นอกจากประเภทธุรกิจ หรือรายได้แล้ว คุณต้องเช็คด้วยว่า ลูกค้าหรือผู้ที่มาใช้บริการธุรกิจของคุณนั้นเป็นผู้ที่เข้าระบบ VAT หรือไม่? หากลูกค้าและผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อยู่ในระบบ VAT เราแนะนำให้คุณดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย แม้ว่ารายได้จะไม่ถึง 1.8 ล้านบาทก็ตาม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและรักษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ลูกค้า ยิ่งถ้าลูกค้าของคุณเป็นธุรกิจขนาดใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก หากคุณไม่ได้จด VAT อาจจะเสียลูกค้ากลุ่มนี้ไปเลยก็ได้
วิธีการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
เมื่อผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องไปดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรภายใน 30 วันนับแต่วันที่มูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1.8 ล้านบาท
เอกสารที่ใช้ในการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
1. แบบคำขอจดทะเบียน ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ
2. ภ.พ.01.1 จำนวน 3 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจหรือผู้ประกอบการ 1 ฉบับ
4. รูปภาพสำนักงานทั้งภายในและภายนอก (อย่างน้อย 4 ภาพ) 2 ชุด
5. แผนที่ 2 ชุด
6. สำเนาทะเบียนบ้านที่ใช้ตั้งเป็นสถานประกอบการ 1 ฉบับ
ขั้นตอนการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถทำได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
ก. การยื่นแบบคำขอด้วยกระดาษ
โดยยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ :ซึ่งเอกสารที่ใช้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้
1. แบบคำขอจดทะเบียนมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร (ภ.พ.01) จำนวน 3 ฉบับ พร้อมลายเซ็นผู้มีอำนาจลงนาม
2. หลักฐานแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการได้แก่
2.1 สัญญาเช่าอาคารที่เป็นที่ตั้งสถานประกอบการปิดอากรแสตมป์ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยิยอมให้ใช้สถานที่เป็นสถานประกอบการ (กรณีเจ้าของให้ใช้โดยไม่ได้ค่าตอบแทน)
2.2 สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
2.3 สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า/ผู้ยินยอม เช่น การเป็นเจ้าบ้าน สัญญาซื้อขาย คำขอเลขที่บ้าน ใบโอนกรรมสิทธิ์ สัญญาเช่าช่วง
2.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการของผู้ให้เช่าหรือผู้ยินยอม หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคลเป็นผู้ให้เช่า)
3. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป พร้อมภาพถ่ายสถานประกอบการที่แสดงให้เห็นบ้านเลขที่
4. หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีอำนาจลงนาม
6. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทพร้อมวัตถุประสงค์
ข. การยื่นแบบคำขอผ่านทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เข้าสู่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th คลิกเลือก นิติบุคคล เมื่อเข้าสู่หน้าจอ บริการที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล เลือก ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. คลิกเลือก ระบบบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต
3. เมื่อเข้าสู่หน้าจอ VAT-SBT ONLINE เลือก บริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4. เมื่ออ่านคำอธิบายคุณสมบัติผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว ถ้าต้องการจดทะเบียนให้กดปุ่ม ‘ยืนยันการจดทะเบียน’ เมื่อเลือกคุณสมบัติที่ต้องการ กด ตกลง
5. กรณีผู้ประกอบการมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องจดทะเบียน 1.8 ล้านบาท หรือเป็นผู้ส่งออก ให้คลิก แบบภ.พ.01 และกด ยืนยันการจดทะเบียน
6. กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักแล้วกด ตกลง
7. ผู้ประกอบการกรอกข้อมูลในแบบ ภ.พ.01 ประกอบด้วย ข้อมูลสถานประกอบการ ได้แก่ ชื่อที่อยู่สำนักงานใหญ่ สาขาและชื่อที่อยู่สาขา (ถ้ามี) และข้อมูลอื่นๆ ได้แก่ วันที่ประสงค์จะเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เงินทุนจดทะเบียน ประมาณการรายรับต่อเดือน ประเภทของการประกอบกิจการ เป็นต้น
8. เมื่อบันทึกข้อมูลในแบบ ภ.พ.01 ครบถ้วนแล้วระบบจะให้ผู้ประกอบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่บันทึกทั้งหมด แล้วกดปุ่ม ตกลง เมื่อต้องการยืนยันให้กดปุ่ม OK
9. หลังจากยืนยันการจดทะเบียนแล้ว หน้าจอจะแสดงผลการยื่นแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมคำแนะนำและแสดงรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านจำนวน 1 ชุด ซึ่งเป็นรหัสสำหรับผู้ประกอบการในการตรวจสอบแบบ ภ.พ.01 ที่ได้กรอกไปแล้ว กรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลสามารถใช้รหัสดังกล่าวในการแก้ไขก่อนเวลา 17.00 น.ของวันที่บันทึกยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เท่านั้น หลังจาก 17.00 น. ข้อมูลที่บันทึกไว้จะไม่สามาเมื่อได้รับการอนุมัติให้เป็นกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ผู้ประกอบการมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษี จัดทำรายงานภาษีซื้อภาษีขายเป็นประจำทุกเดือน รวมทั้งยื่นแบบภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปรถแก้ไขได้
เรื่องที่ควรทำ หลังจากจดภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว (จด VAT)
หากคุณทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด VAT เรียบร้อยแล้ว จะต้องทำการยื่นรายงานภาษีซื้อ - ขาย ทุกเดือน แม้ว่าจะไม่มีการซื้อ - ขาย ในเดือนนั้นก็ตาม โดยจะต้องยื่นภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป และจะต้องออกใบกำกับภาษีด้วย
หลายๆ ท่านคงได้คำตอบแล้วใช่ไหมคะ ว่าธุรกิจของคุณถึงเวลาที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือยัง แต่ถ้าหากคุณมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจดภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการหรือธุรกิจของคุณ สามารถติดต่อสอบถามทางทีมงานของเราได้ เพราะ FTA Consulting ของเรามีทีมงานมืออาชีพที่พร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำพวกคุณอยู่ค่ะ